วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

รหัสวิชา 2201-1009 วิชา พิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ 1

รหัสวิชา 2201-1009 วิชา พิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ 1
ครูผู้สอน อาจารย์วันดี   บุญงาม อาจารย์ประจำสาขางานการขาย 
โทรศัพท์ 089 798 1300

จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ดีดไทย
2. เพื่อให้มีทักษะในการพิมพ์แบบสัมผัส
3. เพื่อให้มีทักษะในการแก้ไขเครื่องพิมพ์ดีดอย่างง่ายและการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด
4. เพื่อให้มีเจตคติและกิจนิสัยที่ดีในการพิมพ์ดีด

มาตรฐานรายวิชา
1. บอกส่วนต่าง ๆ และการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด
2. พิมพ์แบบสัมผัส
3. คำนวณคำสุทธิ

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ดีดไทย การสร้างเทคนิคที่ดีในการ
พิมพ์สัมผัส การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ดีด และการแก้ไขอย่างง่าย การเรียนรู้แป้นพิมพ์ การพิมพ์
สัมผัส การคำนวณคำ 


หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ลักษณะและรูปแบบของแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ภาษาไทย

1.1 แป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ด    

ความหมายของแป้นพิมพ์ หรือคีย์บอร์ด
              แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลขั้นพื้นฐาน ทำหน้าที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับระบบคอมพิวเตอร์ โดยส่งคำสั่งหรือข้อมูลจากผู้ใช้ไปสู่หน่วยประมวลผลในระบบคอมพิวเตอร์ ภายในแป้นพิมพ์จะมีแผงวงจรหลักที่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวน มาก ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ที่ถูกฉาบด้วยหมึกที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เมื่อถูกกดจนติดกันก็จะมีกระแสไฟฟ้าไหลในตัววงจร เมื่อผู้ใช้กดแป้นใดแป้นหนึ่ง ข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าจากแป้นกดแต่ละแป้นจะถูกเปรียบเทียบรหัส (Scan Code) กับรหัสมาตรฐานของแต่ละแป้นที่กด เพื่อเปลี่ยนให้เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไปแสดงบนจอภาพ
การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษรต่างๆ บนแป้นพิมพ์ ในส่วนของภาษาอังกฤษ แป้นพิมพ์โดยทั่วไปจะจัดแบบ QWERTY (ตั้งชื่อตามตัวอักษรบริเวณแถวบนด้านซ้าย) ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มใช้แบบ Dvorak โดยคิดว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่า เนื่องจากแป้นพิมพ์แบบ QWERTY จงใจออกแบบมาเพื่อไม่ให้พิมพ์ได้เร็วเกินไป ตั้งแต่สมัยของพิมพ์ดีดที่ไม่ใช้ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งก้านตัวพิมพ์มักจะเกิดการขัดกันเมื่อผู้ใช้พิมพ์เร็วเกินไป ในส่วนของแป้นพิมพ์ภาษาไทยก็แบ่งออกได้ 2 แบบ เช่นกัน คือ
  • แป้นพิมพ์ปัตตโชติ ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์รุ่นเดิม
  • แป้นพิมพ์เกษมณี ซึ่งเป็นแป้นพิมพ์ที่นนนิยมใช้ในปัจจุบัน

1.2 วิวัฒนาการและความเป็นมาของแป้นพิมพ์
 
ความเป็นมาของคีย์บอร์ด
           คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการ
กดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่
ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้น
ตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift)
เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ
เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไป
ในระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมี
การดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษ
และภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้น
เดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยน การพิมพ์ภาษาไทย
หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่อง
ไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด
83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที (PC/XT) ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็ม
ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาด
แป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขร พีซีเอที
(PC/AT)และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2
โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก
17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น  


แบ่งตามจำนวนแป้นพิมพ์
คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด
แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย
หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
  • 101-key Enhanced keyboard
  • 104-key Windows keyboard
  • 82-key Apple standard keyboard
  • 108-key Apple Extended keyboard
  • Notebook & Palm keyboard


ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ

    Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
    Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
    Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12

Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และ
ปุ่มควบคุม ทางบริษัท IBM (ค.ศ. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกขึ้น




              ยังไม่หมดนะคะ 
ครั้งต่อไปมาเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น